3. ขนมหวานจัด
ได้แก่อาหารที่มีน้ำตาลอยู่สูงมาก เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ลูกกวาด คาราเมล กาละแม แยม ฯลฯ
โดยน้ำตาลนอกจากให้ความหวานแล้ว ยังให้เนื้ออีกด้วย
ควรใช้ ดี-เอ็ดทดแทนประมาณ 25% ของน้ำตาล เช่น
เปลี่ยนจาก ใช้น้ำตาล 4 ถ้วย ไปเป็น -> น้ำตาล 3 ถ้วยผสม ดี-เอ็ด 1/8 ถ้วย (24ซอง)
4. อาหารเนื้อฟู
ได้แก่ อาหารที่มีการเติมผงฟู ทำให้มีอากาศอยู่ข้างใน หรือมีรูพรุน เช่น ขนมสาลี่, sponge cake, เค้กเนื้อนิ่ม, ขนมปัง ฯลฯ
เมื่อใช้ ดี-เอ็ด เนื้อจะฟูลดลง จึงควร
4.1 ปรับภาชนะที่ใช้อบหรือนึ่งให้แคบลง แต่มีความลึกมากขึ้น
4.2 เพิ่มนมผง 1/2 ถ้วย สำหรับน้ำตาลทุกๆ 1 ถ้วย และ
4.3 เพิ่มผงฟูมากขึ้นกว่าสูตรเดิม อีก 1/2 ช้อนชา สำหรับน้ำตาลทุกๆ 1 ถ้วย เช่น
เปลี่ยนจาก ใช้น้ำตาล 1 ถ้วย ไปเป็น -> ดี-เอ็ด 1/8 ถ้วย (24ซอง) + นมผง 1/2 ถ้วยตวง + เพิ่มผงฟู 1/2 ช้อนชา
ตัวอย่างการปรับสูตรอาหาร
Chocolate Cup Cake
5. อาหารเติมยีสต์
เนื่องจาก ดี-เอ็ดไม่ทำให้ฟันผุ และไม่ถูกย่อยโดยยีสต์
จึงควรเติมน้ำตาลอย่างน้อย 2 ช้อนชาเพื่อให้ยีสต์ทำงาน แล้วเติมความหวานที่เหลือด้วย ดี-เอ็ด
6. สีน้ำตาลเกรียม
อาหารที่มีการเติมน้ำตาล หรือโรยหน้าด้วยน้ำตาล เมื่อโดนความร้อน เช่นจากการอบ
น้ำตาลจะละลาย แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
เมื่อใช้ ดี-เอ็ด จะไม่เกรียมแบบน้ำตาล
ดังนั้น ในขนมที่ต้องการสีด้านนอกเป็นสีน้ำตาล อาจใช้เนยหรือน้ำมันทาหน้าแป้งขนมก่อนอบ
7. ขนมอบ
ในขนมอบกลุ่มเบเกอรี่ เช่น เค้ก คุกกี้ พาย ฯลฯ น้ำตาลนอกจากให้ความหวาน มักมีหน้าที่ให้ความเหนียวนุ่ม และ/หรืออุ้มความชื้น(moisture)อีกด้วย
เมื่อใช้ ดี-เอ็ด เนื้อจะร่วน (flakier) และแห้งขึ้น (drier)
ดังนั้น ในกลุ่มขนมอบเหล่านี้ มักต้องการการปรับสูตรค่อนข้างมาก เพื่อเพิ่มความเหนียวนุ่มและ/หรือความชื้นให้เนื้อขนม
เช่น หากสูตรขนมเดิม มีการใส่เนยและไข่ อาจเพิ่มไข่หรือเนยให้มากขึ้น
หรือหากไม่ต้องการปรับสูตร ท่านสามารถลดปริมาณน้ำตาลลง 25% และทดแทนด้วย ดี-เอ็ด (ย้อนกลับไปดูข้อ3.ขนมหวานจัด)
หมายเหตุ
สำหรับธุรกิจเบเกอรี่ ซึ่งมีการใช้น้ำตาลกึ่งกลางระหว่างผู้ใช้ครัวเรือนและผู้ใช้อุตสาหกรรม
และไม่ต้องการปรับปรุงสูตรอาหารที่มีอยู่เดิมมากนัก อาจพิจารณาใช้สูตร Baking คือ
ดี-เอ็ด แมกซ์ 1 ส่วน ผสมน้ำตาล 400 ส่วน
แล้วใช้เพียงครึ่งหนึ่งของน้ำตาลในสูตรเดิม เช่น
เปลี่ยนจาก ใช้น้ำตาล 10 กิโลกรัม ไปเป็น -> ดี-เอ็ด สูตร Baking 5 กิโลกรัม
อัตราชั่งตวงในการประกอบอาหาร
1 ช้อนชา |
= 5 ซีซี. |
1 ช้อนโต๊ะ |
= 15 ซีซี. |
1 ช้อนโต๊ะ |
= 3 ช้อนชา |
1 ถ้วย |
= 16 ช้อนโต๊ะ |
1 ไพน์ |
= 2 ถ้วย |
1 ควอต |
= 4 ถ้วย |
1 แกลลอน |
= 4 ควอต |
1 ออนซ์ของเหลว |
= 2 ช้อนโต๊ะ |
1 ถ้วย |
= 8 ออนซ์ |
1 ออนซ์ |
= 28.3 กรัม |
1 ปอนด์ |
= 16 ออนซ์ |
1 ปอนด์ |
= 454 กรัม |
1 กิโลกรัม |
= 1000 กรัม |
1 กิโลกรัม |
= 2.2 ปอนด์ |
การแปลงอัตราชั่งตวง ระหว่าง น้ำตาล และ ดี-เอ็ด
น้ำตาล |
ดี-เอ็ด |
2 ช้อนชา |
= 1 ซอง, หรือ เคาะเท(จากขวดโรย) 4 ครั้ง, หรือ 1/4 ช้อนชา |
2 ช้อนโต๊ะ |
= 3 ซอง, เคาะ(จากขวดโรย) เทโรย 12 ครั้ง, 3/4 ช้อนชา |
1 ถ้วย |
= 24 ซอง (1/8 ถ้วย, 2 ช้อนโต๊ะ) |
100 กรัม |
= 12 กรัม |
250 กรัม |
= 31 กรัม |
500 กรัม |
= 63 กรัม |